โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง,Stroke

โรคหลอดเลือดสมอง (Stoke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง เนื่องจากหลอดเลือดอุดตัน หลอดเลือดตีบ หรือหลอดเลือดแตก จึงส่งผลทำให้สมองหยุดชะงัก และเนื้อเยื้อในสมองถูกทำลาย

ความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง ที่เป็นสาเหตุทำให้สมองขาดเลือด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน(ischemic stroke) 

หลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณ 80% ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดเลือดสมองอุดตันเกิดจากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นภายในบริเวณอื่น ไหลไปตามกระแสเลือดจนเข้าไปอุดตันตรงบริเวณหลอดเลือดสมอง หรืออาจเกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง และขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนอุดตันในหลอดเลือดสมอง ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง

หลอดเลือดสมองแตก(hemorrhagic stroke) 

พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุเกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่มีความเปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออกในที่สุด หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดสามารถปริหรือแตกได้ง่าย ๆ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่อันตรายมากเนืองจากปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างเฉียบพลัน และทำให้เกิดอาการเลือดออกในสมอง ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แบ่งเป็นปัจจัยที่ป้องกันได้และปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้มักมีหลายสาเหตุจากสุขภาพโดยภาพรวม และรูปแบบการดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคล

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้

ไขมันในเลือดสูง เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกับโรคหัวใจ เป็นภาวะที่มีไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด ทำให้กีดขวางการลำเลียงเลือด

ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่ง ที่มีความสำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง จึงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้มากกว่าคนปกติ

โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งถ้าหากลิ่มเลือดไปอุดตันบริเวณสมอง ก็จะทำให้มองเกิดการขาดเลือดได้

เบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็งทั่วร่างกาย หากเกิดที่สมองจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า

โรคซิฟิลิส เป็นสาเหตุของหลอดเลือดแข็ง และหลอดเลือดอักเสบ

ยาคุมกำเนิด ผู้หญิงที่มีการใช้ยาคุมกำเนิด ที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen) สูง จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

การสูบบุหรี่ สารนิโคติน(Nicotine) และคาร์บอนมอนอกไซด์(Carbon Monoxide) ทำให้ปริมาณออกซิเจน(Oxygen) ลดลงและเป็นตัวทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเกิดการแข็งตัว พบว่าการสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองถึง 3.5%

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถป้องกันได้

  • เพศ พบว่าเพศชาย มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง
  • อายุ เมื่อมีอายุมากขึ้น หลอดเลือดของเราก็จะเสื่อมตามไปด้วย โดยผิวชั้นในของหลอดเลือดจะแข็งและหนาขึ้น เกิดจากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะ และรูที่เลือดไหลผ่านจะแคบลงเรื่อย ๆ
  • ภาวการณ์แข็งตัวของเลือดที่เร็วกว่าปกติ จะส่งผลให้เกิดการจับตัวของเม็ดเลือดและมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง
เมื่อสมองขาดเลือด สมองของเราจะไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งจะแสดงอาการต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและตำแหน่งของสมองที่ถูกทำลาย เช่น

    • ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด มุมปากตก น้ำลายไหลหรือกลืนลำบาก
    • ปวดศีรษะ เวียนศรีษะทันที
    • บริเวณใบหน้าหรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกายรู้สึกชา และอ่อนแรง
    • ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ค่อยชัดเจน เห็นภาพซ้อนหรือเห็นครึ่งซีก หรือตาบอดข้างเดียวในทันทีทันใด
    • ทรงตัวลำบาก เดินเซ

อาการต่าง ๆ เหล่านี้มักจะเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน ในผู้ป่วยรายที่มี “ภาวะสมองขาดเลือดแบบชั่วคราว(transient ischemic attack: TIA)” อาจจะมีอาการเตือนเหล่านี้เกิดขึ้นชั่วขณะและหายไปเอง หรือสามารถที่จะเกิดขึ้นได้หลายครั้งก่อนที่จะมีอาการสมองขาดเลือดแบบถาวร ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับเรา ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการของโรคหลอดเลือดสมอง เรียกได้ว่าเป็นโรคที่มีความร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรือหากไม่ถึงขั้นเสียชีวิต ก็อาจจะทำให้เป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตนเองได้ เหลือเพียงต้องใช้เวลาในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพต่อไป

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจุบันนี้ ได้มีการค้นพบวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพและสามารถบ่งชี้บอกถึงตำแหน่งสมองและหลอดเลือดที่ผิดปกติได้ รวมถึงภาวะและสาเหตุต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดในสมองได้ เช่น

  • การตรวจหาการอักเสบของหลอดเลือด
  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(electrocardiogram) เพื่อตรวจดูจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ
  • การตรวจอัลตราซาวด์หลอดเลือดบริเวณคอ(carotid duplex scan) เพื่อดูขนาดและการไหลเวียนของหลอดเลือดแดง บริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นความถี่สูง
  • การตรวจระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือด
  • การตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  • การตรวจสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (computerized tomography) เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่
  • การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging) เพื่อดูเนื้อสมอง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดที่คอ เป็นวิธีการที่ไม่เจ็บปวดและมีประสิทธิภาพสูง

วิธีการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคว่าเป็นหลอดเลือดสมองแตก หรือหลอดเลือดตีบ โดยจะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน

    • หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป้าหมายของการรักษาโรคนี้คือ ทำให้หลอดเลือดไหลเวียนได้อยางปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลากหลายวิธี ในบางกรณีนั้น แพทย์อาจจะให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งจะพบว่าได้ผลดีกับผู้ป่วยที่มีอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองควรรีบมาโรงพยาบาลภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง
    • หลอดเลือดสมองปริแตก หรือฉีกขาด เป้าหมายของการรักษา ก็คือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออก ด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในการณีที่มีเลือดออกมาก แพทย์อาจจะพิจารณาให้ทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อความดันโลหิตมีความเปลี่ยนแปลง

วิธีป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
วิธีการป้องกันการเป็นโรคหลอดเลือดสมองที่ดีที่สุด คือ ควรป้องกันก่อนการเกิดโรค ด้วยการควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้หลอดเลือดเกิดการอุดตัน ตีบ หรือแตก เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง ขาดการออกกำลังกายหรือ การสูบบุหรี่ เป็นต้น

  • งดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ควบคุมอาหารให้สมดุลอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม มัน และหวาน
  • ควบคุมระดับความดันโลหิต น้ำตาล และไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ
  • ควรตรวจเช็คสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจหาความเสี่ยง หากพบ ควรรีบไปพบแพทย์และรักษาอย่างสม่ำเสมอ
  • ในกรณีที่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลอดเลือดอุดตัน ตีบ หรือแตก ควรเข้ารับการรักษาและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ ตามแผนการรักษาของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาเอง และควรรีบไปพบแพทย์ทีนทีหากพบอาการที่ผิดปกติ

ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบและอุดตัน แพทย์จะให้การรักษาโดยการใช้ยาป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่การผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบและอุดตัน แพทย์จะให้การรักษาโดยการใช้ยาป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง แต่การใช้ยาเหล่านี้จำเป็นต้องมีการติดตามผลอยู่สม่ำเสมอ และใช้ภายได้คำนำนำของแพทย์ย่างเคร่งครัด เนื่องจากหากมีอาการผิดปกติ ประมาทเลินเล่อ หรือไม่มีการติดตามดูแลอยางสม่ำเสมอ อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างรุนแรง เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ถ้ามีอาการเตือนที่แสดงว่าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอชั่วคราว ควรรีบมาพบแพทย์แม้ว่าอาการเหล่านั้นจะหายได้เองตามปกติ

ข้อมูล : bumrungrad.com
ภาพประกอบ : pharmacy.mahidol.ac.th