รู้เท่าทัน “โรคกระดูกพรุน” มฤตยูเงียบที่อันตรายกว่าที่คิด

เพราะสาเหตุของโรคกระดูกพรุนอาจเกิดจากร่างกายการขาดแคลเซียม ดังนั้น เมื่อเราได้เรียนรู้จากในตำรามาตั้งแต่สมัยเด็กๆ ว่าแคลเซียมนั้นดีต่อกระดูก และช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุนในยามที่เราแก่ตัวลง เราจึงควรรู้ว่าต้องบริโภคแคลเซียมในปริมาณเท่าไร ร่างกายถึงจะนำไปใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด โรคกระดูกพรุน หรือ Osteoporosis คือภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อมวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ร่างกายจะสามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้ทัน จึงเป็นเหตุให้กระดูกเกิดการเปราะและแตกหักได้ง่าย โดยผู้ป่วยกว่าร้อยละ 80 ไม่รู้ตัวว่าตนเองนั้นมีภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากไม่มีอาการ หรือสัญญาณเตือนใดๆ ให้ทราบมาก่อน จนกระทั่งเกิดอุบัติเหตุล้มและกระดูกหัก จึงได้รู้ว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ด้วยเหตุนี้ โรคกระดูกพรุนจึงถือเป็นมฤตยูเงียบที่ส่งผลร้ายทำลายคุณภาพชีวิตผู้ป่วยอย่างมาก ทั้งนี้จากการศึกษาพบว่าในคนที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติการณ์ของกระดูกหักในหลายๆ ตำแหน่งของร่างกาย เช่น กระดูกข้อมือ กระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และ กระดูกเชิงกราน ฯลฯ โดยจากการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่ามีผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักมากถึงปีละประมาณห้าแสนราย โดยพบมากในเพศหญิงมากกว่าเพศชายถึง 10 เท่า และพบว่า 50% ของผู้หญิงชาวอเมริกันที่มีผิวขาวและมีอายุมากกว่า 70 ปี มีหรือเคยมีกระดูกสันหลังหักอย่างน้อยหนึ่งข้อ นอกจากนี้ยังพบข้อมูลที่น่าตกใจที่แสดงให้เห็นว่า อัตราการเกิดอุบัติการณ์ กระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนของคนทั่วโลกนั้น เกิดขึ้นทุกๆ 3 วินาที ซึ่งมีค่ารักษาพยาบาลคิดเป็นเงินไทยกว่า 120,000 บาท!!! อย่างไรก็ตาม […]