เข่าดังก๊อบแก๊บ กินอะไรดี?

สมุนไพร, อาหารบํารุง.ข้อเข่าเสื่อม,เข่าดังก๊อบแก๊บ กินอะไรดี

เสียงก๊อบแก๊บ สัญญาณเตือน “ข้อเข่าเสื่อม”

เวลาเดินขึ้น-ลง บันได เคยมีเสียงก๊อบแก๊บดังที่หัวเข่าทั้งสองข้างไหม? นั่นใช่สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อมใช่หรือไม่? ก่อนอื่นต้องแยกเสียงออกเป็น 2 แบบก่อน คือ เวลาเดินขึ้น-ลงบันได มีเสียงดัง เข่าดังก๊อบแก๊บอย่างเดียว ไม่มีอาการปวดร่วมด้วย กับอีกแบบคือได้ยินทั้งเสียงและมีอาการปวดร่วมด้วย

ถ้าเข่ามีเสียงดังก๊อบแก๊บเฉยๆ โดยเฉพาะเวลางอเข่ามากๆ เช่น นั่งยองๆ หรือลุกจากเก้าอี้ที่นั่งต่ำๆ เสียงดังแบบนี้เกิดจากการขบกันของผิวกระดูกอ่อนหรือเนื้อเยื่อกับเส้นเอ็นในข้อเข่า ไม่ใช่ความผิดปกติที่เกิดจากข้อเข่าเสื่อม

แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าเสียงดังก๊อบแก๊บนั้นมีอาการปวด เข่าสั่น ร่วมด้วย เช่น ปวดเข่าเวลาวิ่ง กระโดด ขึ้น-ลง บันได, ปวดเข่าเมื่อนั่งพับเพียบหรือนั่งยองๆ ไม่ค่อยมีแรง ทรงตัวไม่ค่อยได้ ให้สันนิษฐานเบื้องต้นได้เลยว่า ข้อเข่าของเราน่าจะมีปัญหา! เพราะอาการปวดร่วมกับเสียงก๊อกแก๊กที่ดังนั้น อาจมาจากน้ำหล่อเลี้ยงในข้อเข่าน้อย หรือ กระดูกข้อเข่าสึกกร่อน

สำหรับผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม หรือมีอาการปวดเข่าเนื่องมาจากสาเหตุอื่นๆ การมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะยิ่งส่งผลให้อาการลุกลามและหายช้า จึงควรที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือรูปแบบการใช้ชีวิต ส่วนหนึ่งก็คือการปรับด้านการรับประทานอาหาร แม้ว่าอาหารที่รับประทานเข้าไปอาจไม่ได้ช่วยในเรื่องของการรักษาโรคโดยตรง แต่หากผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เหมาะสมก็สามารถลดปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว และลดโอกาสการเกิดการอักเสบ ทั้งยังช่วยเสริมสร้างข้อกระดูกและกล้ามเนื้อให้แข็งแรงได้อีกด้วย

อาหารที่ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมควรรับประทาน

  • อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า – 3 สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารทะเล เช่น ปลาแซลมอน ปลาทะเล หรืออาจเป็นปลาน้ำจืดประเภทปลาเนื้อขาว จะช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ช่วยลดอาการปวดหรืออักเสบในผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าอักเสบ และสามารถลดอาการติดแข็งบริเวณข้อต่างๆ
    เข่าดังก๊อบแก๊บ กินอะไรดี
  • อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระหรือเบต้าแคโรทีนสูง โดยเฉพาะผักต่างๆ เช่นยอดแค ใบยอ ผักคะน้า ผักกระเฉด ผักโขม ถั่วงอก บรอกโคลี และควรรับประทานผักให้หลากสี เช่น แครอทสีส้ม มะเขือเทศสีแดง ข้าวโพดและฟักทองสีเหลือง กะหล่ำปลีสีม่วง เพื่อได้วิตามินที่หลากหลาย โดยเฉพาะผักใบเขียวต่างๆ จะมีวิตามินเคช่วยในเรื่องของการบำรุงกระดูก
  • อาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม งาดำ อัลมอนด์อบ ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น น้ำเต้าหู้ เต้าหูหลอด และการรับประทานปลาตัวเล็กตัวน้อยก็ช่วยเพิ่มแคลเซียมให้กระดูกแข็งแรง อีกทั้งยังควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีสูง จำพวก นม ไข่ ปลาซาดีน ควบคู่ไปด้วย เพราะวิตามินดีมีส่วนช่วยในเรื่องการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น
  • อาหารที่มากด้วยวิตามินซี เช่นผักผลไม้ต่างๆ ฝรั่ง สับปะรด ส้ม มะละกอสุก ที่จะช่วยต้านการเกิดอนุมูลอิสระได้อีกทางหนึ่ง
    หัวเข่า มีเสียง กิน อะไร
  • อาหารที่มีสารกลุ่มไอโอฟลาโวนอยด์ เช่น บลูเบอร์รี่ เชอร์รี่ แอปเปิล หัวหอม มะเขือเทศ และชาเขียว เหล่านี้จะมีฤทธิ์ต้านทานการอักเสบ และเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการดูดซึมวิตามินซี ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับเนื้อเยื่อ ทำให้ผนังหลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยแข็งแรง ลดโอกาสการเกิดการฟกช้ำและบวม
    รักษาข้อเข่าเสื่อม pantip
  • รับประทานอาหารประเภทอบ ตุ๋น ต้ม นึ่ง และย่าง แทนอาหารประเภททอด ผัด หรือแกงกะทิ ที่มีไขมันมาก ส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่ม
    อาหารบํารุงข้อเข่าเสื่อม

อาหารที่ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมควรหลักเลี่ยง

  • อาหารเสริมและวิตามินสำเร็จรูป ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทาน ให้แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยขาดวิตามินชนิดใด และกำหนดปริมาณให้รับประทานอย่างเหมาะสม เพราะอาหารเสริมหรือวิตามินบางอย่างก็ไม่มีความจำเป็น ราคาสูง และหากได้รับมากไปอาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายเราอีกด้วย
  • อาหารที่มีรสเค็มหรืออาหารที่มีโซเดียมสูง ให้หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยเกลือ ซอสถั่วเหลือง น้ำปลา ซอสปรุงรสอื่นๆ และการกิรอาหารรสเค็ม อาหารแปรูป หมัก ดอง รวมถึงขนมที่มีผงชูรสเยอะ เพราอาหารที่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบสูงจะมีผลให้เซลล์ในร่างกายเกิดการสะสมน้ำมากเกินไปจนทำให้ร่างกายบวมน้ำ
  • อาหารที่มีรสหวานหรืออาหารที่มีน้ำตาลมาก เพราะอาจไปกระทบต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้แผลหรือกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่าเกิดการอักเสบได้ง่ายขึ้น
  • อาหารจำพวกแป้งขัดขาว เช่น ขนจมปังข้าว ซีเรียล พาสต้า ธัญพืชขัดขาว ที่อาจไปกระตุ้นการอักเสบของข้อต่อกระดูก
  • อาหารทอดหรืออาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง นอกจากจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มแล้ว อาจจะไปเพิ่มการอักเสบได้ จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทนี้ เช่น ไก่ทอด หมูทอด ลูกชิ้นทอด เฟรนช์ฟราย กล้วยแขก เค้ก ไอศกรีม เป็นต้น
  • เนื้อสัตว์ที่ผ่านการปรุงด้วยอุณหภูมิสูงมากๆ นอกจากจะเสียคุณค่าทางอาหารแล้ว จะทำให้เกิดสาร AGEs (Advanced Glycation End Products) ที่อาจทำให้เกิดการอักเสบตามข้อต่างๆ
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่อาจไปกระตุ้นอาการต่างๆ ของโรคให้รุนแรงขึ้น และอารเกิดปฏิกิริยากับตัวยาที่รับประทานอยู่ ทำให้ยาออกฤทธิ์ไม่ได้เท่าที่ควร และอาจส่งผลกระทบอื่นๆตามมา
  • กาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายเกิดการขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ จนอาจทำให้แคลเซียมในร่างกายเสียสมดุล และหากได้รับคาเฟอีนในปริมาณมาก เป็นประจำ จะส่งผลให้มวลกระดูกบางลงอีกด้วย

ขอขอบคุณข้อมูล :ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 1
เรียบเรียง : สารสกัดงาดํา เซซามิน