เรื่องของการปวดกระดูก เจ็บเข่า กระโดดไม่ไหว เอี้ยวตัวลำบาก อย่าคิดว่าเป็นเพียงอาการของคนชราเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงแล้ว วัยหนุ่มสาวอย่างเราถึงแม้ว่าจะมีมวลกระดูกที่แข็งแรง หมุนตัวได้อย่างคล่องแคล่ว แต่ถ้าหากยังมีพฤติกรรมที่คอยทำลายความแข็งแรงของกระดูกเราอยู่เรื่อยๆ ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่กระดูกจะเสื่อมก่อนถึงวัยชราได้เช่นเดียวกัน
กระดูกเสื่อมเกิดจากสาเหตุใด?
กระดูกของเราอาจเสื่อมสภาพลงได้เนื่องจากแคลเซียมในร่างกายถูกทำลายลง เพราะแคลเซียมมีหน้าที่สำคัญในการเสริมสร้างกระดูก เมื่อมวลของกระดูกลดลง จึงเป็นสาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุนได้
7 พฤติกรรมเสี่ยงต่อ “โรคกระดูกพรุน” ก่อนวัยอันควร
1. การสูบบุหรี่
จะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง เป็นเหตุให้กระดูกไม่ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอต่อการเสริมสร้างความแข็งแรง
2.การดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol)
เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ แอลกอฮอล์จะเข้าไปขัดขวางการดูดซึมของแคลเซียม เป็นเหตุให้กระดูกได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอเช่นเดียวกัน
3.การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
ไม่ว่าจะเป็นช็อกโกแลต โกโก้ ชา กาแฟ น้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้กระดูกเสื่อมได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากคาเฟอีนจะทำให้ร่างกายขับเอาแคลเซียมออกไปจากร่างกายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้น้ำอัดลมก็ยังมีกรดฟอสฟอรัสที่เป็นตัวกัดกระดูกให้กร่อนลงได้อีกด้วย
4.ฮอร์โมนเพศที่ลดลง
ว่าด้วยเรื่องของฮอร์โมนกับอายุของเราที่เพิ่มมากขึ้น อาจจะเป็นสิ่งเดียวที่เราไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ แต่หนุ่มสาวบางรายที่ต้องเข้ารับการรักษาโรคอื่นๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศ อาจเป็นสาเหตุทำให้ฮอร์โมนเพศลดลงได้ เช่น ผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูก อาจจะได้รับยาฮอร์โมนมารับประทานเพื่อปรับสมดุลให้กับร่างกาย กระดูกจะได้มีความแข็งแรง ไม่กร่อนก่อนวัยอันควรเป็นต้น
5.ขาดการออกกำลังกาย
ผลการศึกษาพบว่า คนที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่าคนที่ออกกำลังการอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าหากเราไม่ออกกำลังกายเลย จะทำให้มวลกระดูกของเราสูญเสียความแข็งแรง ทั้งนี้รวมถึงวัยชรา หรือคนป่วยที่อยู่ในช่วงของการพักฟื้น ไม่ได้มีการเคลื่อนไหวร่างกายในระยะเวลาหนึ่ง ทำให้สูญเสียความแข็งแรงของกระดูกไปบางส่วนเช่นเดียวกัน
6.ขาดวิตามิน D
หากเราเก็บตัวอยู่ในบ้านตลอดเวลา หรือไม่เคยสัมผัสถึงแสงแดดยามเช้าที่มีวิตามิน D อยู่ด้วย อาจจะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม(Calcium) ไปใช้ในการเสริมสร้างกระดูกได้น้อยลง แต่ด้วยเหตุที่ประเทศไทยของเรามีแสงแดดตลอดทั้งปีอยู่แล้ว คนส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องนี้มากเท่าไหร่
7.ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ
ปริมาณของแคลเซียม(Calcium) ในร่างกาย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะคอยช่วยรักษากระดูกของเราให้แข็งแรง ซึ่งหากไม่ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอตั้งแต่ในวัยเด็ก วัยรุ่น หรือวัยหนุ่มสาว ก็เป็นสาเหตุที่จะทำให้กระดูกมีความแข็งแรงน้อยกว่าคนอื่นๆ ได้
8.รับประทานยาที่ผสมสเตียรอยด์ (Steroids)
สเตียรอยด์(Steroids) ที่ผสมอยู่ในยาต่างๆ โดยเฉพาะยาสมุนไพร ยาลูกกลอนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนยาอย่างถูกต้อง อาจทำลายความแข็งแรงของมวลกระดูกได้ การเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ท่ามกลางแสงแดดอ่อนๆ งดสูบบุหรี่ งดการดื่มแอลกอฮอล์ และงดทานยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ หรือทานยาเฉพาะที่แพทย์เป็นผู้สั่งให้เท่านั้น นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ผักใบเขียว (ผักคะน้า ใบยอ ใบชะพลู) พืชกตระกูลถั่วทั้งหลายเช่น งาดำ เต้าหู้ ปลาที่ทานได้ทั้งกระดูก เช่น ปลากะตัก ปลากระป๋อง ปลาเล็กปลาน้อย ก็จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับมวลกระดูกของเราได้เช่นเดียวกัน
ขอขอบคุณ
ข้อมูล : รศ.นพ. พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย,ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ,ศ.นพ.ประเสริฐ อัสสันตชัย เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ภาพ : https://blog.gomedii.com/diseases-prevention/what-is-osteoporosis-symptoms-causes/
เรียบเรียง : สารสกัดงาดำ เอมมูร่า เซซามิน